ปวดไมเกรน เป็นอาการปวดที่มักเกิดขึ้นบริเวณหัวข้างใดข้างหนึ่ง โดยอาการปวดอาจเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวหรือปวดติดต่อกันนานหลายวัน อีกทั้งในขณะที่ปวดก็มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อาจมีความรู้สึกไวต่อเสียงและแสงสว่างมากกว่าปกติร่วมด้วย
ปวดไมเกรนเป็นอาการปวดหัวที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตของหลายคน หนึ่งในสิ่งที่ต้องเผชิญร่วมกับอาการปวดไมเกรนคือการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เนื่องจากอาการปวดไมเกรนนั้นทำให้นอนได้ไม่เต็มอิ่มหรือตื่นกลางดึกอยู่บ่อยครั้ง บทความนี้จึงมีคำแนะนำดี ๆ มาฝากเพื่อช่วยให้คุณนอนหลับได้ดีขึ้นแม้จะมีอาการปวดในช่วงกลางคืน
ปวดหัวไมเกรนส่งผลต่อการนอนอย่างไร
การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยให้ร่างกายและจิตใจสามารถฟื้นฟูได้อย่างเต็มที่ หากใครที่เผชิญกับอาการปวดหัวไมเกรนอยู่บ่อยครั้งก็ย่อมกระทบกับสุขภาพการนอนอยู่ไม่น้อย
โดยจากการศึกษาบางส่วนพบว่า ผู้ที่มีอาการปวดไมเกรนมักมีปัญหาด้านการนอนหลับหรือนอนไม่พอมากกว่าผู้ที่มีอาการปวดหัวชนิดอื่น ๆ อีกทั้งหากนอนไม่พอหรือปวดไมเกรนจนต้องตื่นกลางดึกบ่อยครั้งอาจทำให้มีอาการปวดหัวบ่อยมากขึ้นและอาการปวดหัวอาจแย่ลงไปได้อีก
ดังนั้น วิธีเช็คผลจากการนอนไม่พอทำให้การส่งผลต่อการทำกิจกรรมในแต่ละวัน เช่น ง่วงระหว่างวันมากขึ้น อารมณ์แปรปรวน มีปัญหาด้านความจำ ไม่มีสมาธิ จดจ่อได้น้อยลง หรือเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น นอกจากนี้ยังส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย อาทิ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองและโรคอ้วน
อาการปวดศีรษะไมเกรนจะแตกต่างจากอาการปวดศีรษะจากสาเหตุอื่นอย่างไร
อาการปวดหัวอาจจะเกิดจากความผิดปกติของส่วนต่าง ๆ ภายในกะโหลกศีรษะ เช่น สมอง เยื่อหุ้มสมอง โพรงน้ำในสมอง หลอดเลือดสมอง หรืออาจจะเกิดจากความผิดปกติของกะโหลกศีรษะเอง รวมทั้งอวัยวะต่าง ๆ รอบกะโหลก ได้แก่ ตา หู จมูก โพรงอากาศหรือไซนัส คอ และกระดูกคอ
นอกจากนั้นแล้วอาการปวดศีรษะอาจจะเกิดจากโรค หรือภาวะต่าง ๆ ยูฟ่า ที่เกิดแก่ร่างกายแล้วส่งผลให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้น เช่น ไข้หวัดใหญ่
ดังนั้น การที่จะทราบว่าอาการปวดศีรษะนั้นเกิดจากโรคไมเกรนแพทย์ต้องทำการวินิจฉัยจากลักษณะจำเพาะของอาการปวดศีรษะ อาการที่เกิดร่วมด้วย รวมทั้งผลการตรวจร่างกายระบบต่าง ๆรวมทั้งการทำงานของสมองที่เป็นปกติ แต่อย่างไรก็ดี โรคไมเกรนบางประเภทก็อาจทำให้สมองทำงานผิดปกติไปชั่วคราวในระหว่างที่เกิดอาการปวดขึ้นได้ แพทย์จำเป็นที่จะต้องทำการวินิจฉัยแยกโรคให้ได้
แพทย์จะมีการตรวจวินิจฉัยอย่างไรว่าผู้ป่วยเป็นโรคไมเกรน
ต้องทราบอาการปวด และอาจต้องอาศัยลักษณะต่าง ๆ ของอาการปวด การที่จะทราบว่าอาการปวดหัวเกิดจากสาเหตุใดนั้น อาการที่เกิดร่วมด้วย ความผิดปกติของการทำงานของสมอง หรืออวัยวะต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอาการปวด ดังนี้
- อาการปวด ในลักษณะต่าง ๆ : ตำแหน่ง ความรุนแรง ลักษณะการปวด การดำเนินของการปวด
- อาการที่เกิดร่วมส่งผลต่อร่างกาย เช่น ไข้ ตาแดง ตาโปน น้ำมูกมีกลิ่นเหม็น คลื่นไส้ เวียนหัว
- ส่วนด้านร่างกาย และความผิดปกติของการทำงานของสมองหรืออวัยวะต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอาการปวด เช่น ความคิดอ่านเชื่องช้า มองเห็นภาพซ้อน แขนขาอ่อนแรง เดินเซ
- ปัจจัยกระตุ้นอาการปวด เช่น ความเครียด แสงจ้า ๆ อาหารบางชนิด
- ปัจจัยทุเลาอาการปวด เช่น การนอนหลับ การนวดหนังศีรษะ ยา
รวมทั้งแพทย์จำต้องสอบถามอาการและตรวจร่างกายผู้ป่วย ในกรณีที่จำเป็นบางครั้งอาจต้องส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อให้การวินิจฉัยแยกโรคที่อาจมีอาการคล้ายคลึงกับโรคไมเกรน
การรักษาผู้ป่วยเป็น โรคไมเกรน
วิธีการรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคไมเกรนที่สำคัญได้แก่ การบรรเทาอาการปวดศีรษะ และการป้องกันไม่ให้เกิดหรือลดความถี่ ความรุนแรงของอาการปวดศีรษะ
การบรรเทาอาการปวดศีรษะนั้น อาจไม่จำเป็นต้องใช้ยา เช่น การนวด การกดจุด การประคบเย็น การประคบร้อน หรือการนอนหลับ ในรายที่ไม่ได้ผลหรืออาการปวดรุนแรงก็จำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวด ปัจจุบันมียาแก้ปวดที่ได้ผลดีหลายชนิด ยาแต่ละชนิดก็มีผลข้างเคียงต่าง ๆ กันไป ประกอบกับผู้ป่วยแต่ละรายก็ตอบสนองต่อยามาไม่เหมือนกัน จึงต้องเลือกให้เหมาะสมในแต่ละรายไป
สำหรับการป้องกันไม่ให้เกิด หรือลดความถี่ ความรุนแรงของอาการปวดศีรษะนั้น ที่สำคัญมีอยู่ 2 วิธี วิธีแรกก็คือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอร่วมกับการกำจัดความเครียดอย่างเหมาะสม วิธีที่สองคือ การรับประทานยาป้องกันไมเกรน แพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาป้องกันก็ต่อเมื่อปวดศีรษะบ่อยมาก เช่น สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งขึ้นไป หรือแม้จะปวดไม่บ่อยแต่รุนแรงมากหรือนานต่อเนื่องกันหลายวัน ยาป้องกันไมเกรนนั้นมีอยู่หลายชนิด จะต้องเลือกชนิดและปรับขนาดยาให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายไป แนะนำให้รับประทานยาป้องกันต่อเนื่องจนอาการสงบลงนาน 6-12 เดือน จึงลองหยุดยาได้ เมื่อกำเริบขึ้นอีกจึงเริ่มรับประทานใหม่ ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาไมเกรนให้หายขาดได้ แต่ก็มีวิธีควบคุมอาการให้สงบลงได้ดัง
ผลกระทบหรือปัญหาที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคไมเกรนมีอะไรบ้าง
ผลกระทบที่สำคัญที่เห็นได้ชัดคือเสียสุขภาพกาย ต้องทรมานจากความปวด บางรายปวดรุนแรงมากจนแทบอยากจะวิ่งเอาหัวชนฝาผนัง บางรายก็ปวดข้ามวันข้ามคืนจนนอนหลับไม่สนิท บ้างก็คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลียจนเสียสมรรถภาพการเรียนการทำงาน ไมเกรนเป็นโรคหนึ่งที่ทำให้ผู้ที่ทำงานประเภทใช้ความคิดต้องขาดงานเป็นจำนวนมาก ทำให้สูญเสียทางเศรษฐกิจไม่น้อย ถ้าเป็นบ่อยมากเป็นรุนแรงมาก ๆ ก็ทำให้เสียสุขภาพจิตได้ บ้างก็จะวิตกกังวลว่าอาจจะเป็นเนื้องอกในสมอง

เคล็ดลับการนอนหลับแม้ปวดไมเกรน
สุขอนามัยที่ดีในการนอน (Sleep Hygiene) มีส่วนช่วยให้ผู้ที่มีอาการปวดไมเกรนนอนหลับได้ดีขึ้น ซึ่งการสร้างสุขอนามัยที่ดีในการนอนสามารถทำได้ดังนี้
1. กำหนดชั่วโมงการนอนให้เหมาะสม
วิธีการกำหนดช่วงเวลาเข้านอนและตื่นนอนในทุก ๆ วัน โดยมีกำหนดให้เวลานอนอยู่ที่ประมาณ 7–8 ชั่วโมงต่อคืน และไม่ควรงีบหลับระหว่างวันนานเกิน 20–30 นาทีต่อวัน เพื่อไม่ให้กระทบกับเวลานอนในช่วงกลางคืน นอกจากนี้ การนอนหลับไม่เป็นเวลาอาจเพิ่มโอกาสให้เกิดอาการปวดไมเกรนได้อีกด้วย
2. ออกกำลังกายเป็นประจำ
การออกกำลังกายเพื่อให้มีน้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐานจะช่วยลดความเสี่ยงต่ออาการปวดหัวเรื้อรัง บรรเทาอาการปวดไมเกรน อาการวิตกกังวลและซึมเศร้าซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้อาการปวดไมเกรนแย่ลง
โดยสามารถเลือกการออกกำลังกายที่ชื่นชอบ เช่น เดิน เล่นโยคะ ไทชิ ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำหรือออกกำลังกายในที่ร่มด้วยอุปกรณ์ แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนักหรือหักโหมจนเกินไปเพราะอาจทำให้ปวดไมเกรนมากกว่าเดิม
3. จัดการกับความเครียด
ตัวอย่างวิธีการจัดการกับความเครียด และอาจทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการมองโลกในแง่บวกให้มากขึ้น ทำกิจกรรมที่ชอบ จัดสรรเวลาในการทำกิจกรรมในแต่ละวันให้เหมาะสม ไม่หักโหมจนเกินไป พักจากการทำงานหรือการทำกิจกรรมเป็นระยะ ผ่อนคลายด้วยการนั่งสมาธิ เล่นโยคะหรือฝึกหายใจเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายได้มากขึ้น
4. ปรับนิสัยการกิน
ผู้ที่มีอาการปวดไมเกรนควรกินอาหารให้เป็นเวลา กินอาหารให้ครบทุกมื้อ และหลีกเลี่ยงการกินอาหารบางประเภทที่กระตุ้นให้ปวดไมเกรน เช่น ช็อกโกแลต กล้วย มะละกอ เสาวรส อะโวคาโด หัวหอม มะเขือเทศ ข้าวโพดหรือถั่วบางชนิด เป็นต้น
หากใครไม่แน่ใจว่าอาหารชนิดใดกระตุ้นให้ ปวดไมเกรน อาจลองจดบันทึกอาหารที่กินแล้วเกิดอาการปวดไมเกรนในภายหลัง เพื่อให้สามารถหลีกเลี่ยงได้อย่างเหมาะสม
5. หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอน
การหลีกเลี่ยงการดูหรือใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอนเป็นเวลา 1 ชั่วโมงก่อนนอน ทั้งการดูโทรทัศน์ เล่นมือถือหรือแท็บเล็ต เพราะแสงจากหน้าจะกระตุ้นให้สมองตื่นตัวและยับยั้งการผลิตสารเมลาโทนินที่ทำหน้าที่ควบคุมวงจรการนอนหลับ ทำให้ผู้ที่ปวดไมเกรนอยู่แล้วหลับได้ยากมากขึ้น
6. จัดห้องนอนให้เหมาะกับการนอนหลับ
การสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะช่วยให้นอนหลับได้อย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ใช้ผ้าม่านกันแสงเพื่อให้ห้องมืดลง ปราศจากแสงรบกวนจากภายนอก เงียบสงบ ปรับอุณหภูมิภายในห้องไม่ให้ร้อนหรือหนาวจนเกินไป เลือกใช้หมอน ฟูกและผ้าห่มที่เหมาะสมกับร่างกาย
หากลองทำตามวิธีในข้างต้นแล้วอาการปวดไมเกรนในตอนกลางคืนยังคงรบกวนการนอนหลับ ผู้ที่มีอาการปวดไมเกรนควรไปพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสม โดยแพทย์อาจจ่ายยาบรรเทาเพื่ออาการ
นอกจากนี้ บางรายอาจมีการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม เพราะอาการปวดหัวในตอนกลางคืนอาจเป็นสัญญาณของปัญหาด้านการนอนหลับอื่น ๆ ได้ อาทิ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข กรนและโรคลมหลับ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจกระตุ้นให้ปวดไมเกรนมากขึ้นกว่าเดิม
การใช้ยาบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรน
การรับประทานยาทันทีเมื่อมีอาการปวดศีรษะไมเกรน จะช่วยให้ผลของยาในการบรรเทาอาการปวดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ยาบรรเทาปวด สำหรับการปวดแบบไม่รุนแรง
ยาสามัญประจำบ้าน ได้แก่ Paracetamol
ยาลดการอักเสบที่ไม่ไช่สเตียรอด์ (NSAIDs) ได้แก่ Ibuprofen, Naproxen, Celecoxib, Etoricoxib
ยาบรรเทาปวด สำหรับการปวดที่รุนแรงมากขึ้น (จำเพาะเจาะจงกับการปวดศีรษะไมเกรน)
ยากลุ่ม Triptans ได้แก่ Sumatriptan, Eletriptan
ยาที่มีส่วนผสมของ Ergotamine ได้แก่ Ergotamine + Caffeine
ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน ได้แก่ Metoclopramide, Domperidone
การใช้ยาป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน ยาที่สามารถใช้ป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน ได้แก่
กลุ่มยาลดความดัน
- Propranolol, Metoprolol tartrate, Verapamil
- กลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า
- Amitriptyline
- กลุ่มยากันชัก
- Valproate, Topiramate
- กลุ่มยา Calcitonin gene-related peptide (CGRP) monoclonal antibodies
เป็นยากลุ่มใหม่ Erenumab ที่ใช้ป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรนทั้งแบบที่มีอาการนำ (aura) หรือไม่มีอาการนำ สามารถลดจำนวนวันที่ปวดศีรษะไมเกรนลงจากเดิมได้อย่างมีนัยสำคัญ สามารถบริหารยาเองได้โดยการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง เดือนละ 1 ครั้ง
วิธีอื่นๆ ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการและป้องกันการปวดศีรษะไมเกรน ทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงปัจจัยที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะไมเกรน นอนพักในที่มืดและเงียบสงบ ประคบเย็นบริเวณศีรษะ
ปรับพฤติกรรมการนอน และการรับประทานอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ตรวจเช็คอาการปวดศีรษะไมเกรนอยู่เสมอ และสามารถบรรเทาและป้องกันได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยา อย่างไรก็ดี การเริ่มรับประทานยาบรรเทาปวดทันทีหลังจากที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรน จะช่วยให้ผลของยาในการบรรเทาอาการปวดมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการใช้ยานั้นควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์และเภสัชกร เนื่องจากปัจจัยที่แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย เช่น อายุ โรคประจำตัว และความรุนแรงของโรค จะส่งผลต่อการเลือกใช้ยาและขนาดยาที่ควรได้รับนั่นเอง